มุมมอง’พนักงาน’ต่อ AI : นวัตกรรมที่จะมา ‘ช่วยเหลือ’ หรือ ‘แย่งงาน’ ?

Artificial Intelligence (AI) กำลังเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมออฟฟิศอย่างปฏิเสธไม่ได้

เมื่อบริษัทต่างๆ ผสานเครื่องมือ AI เข้ากับกระบวนการทำงานมากขึ้น จึงเกิดการถกเถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับบทบาทของมันในชีวิตการทำงานของเรา

การศึกษาล่าสุดโดย Slack ได้ลงลึกเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการนำ AI มาใช้ในสำนักงาน บทความนี้จะสำรวจทัศนคติและความกังวลต่างๆ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงานกับเทคโนโลยี AI

ความหลากหลายของ feedback ใน survey ของ Slack ชี้ให้เห็นถึงสเปกตรัมที่กว้างของการยอมรับต่อ AI

ในด้านหนึ่ง เรามี The Maximalists (สุดโต่ง) และ Underground user (ใต้ดิน) คนกลุ่มนี้ยอมรับ AI อย่างเปิดเผยหรือใช้งานอย่างระมัดระวัง (เนื่องจากกลัวการตีตราว่าใช้ AI ได้งานคุณภาพต่ำ/ไม่ตรวจงาน/ขี้เกียจ/ทำงานไม่เป็น)

เหล่า Maximalists กระตือรือร้นเกี่ยวกับศักยภาพของ AI และพูดคุยเกี่ยวกับการใช้งานอย่างเปิดเผย สร้างสภาพแวดล้อมด้วยเรื่องราวความสำเร็จของ AI สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น

ในทางตรงกันข้าม Underground users มีความระมัดระวัง มักเป็นเพราะแนวทางของบริษัทไม่สนับสนุน

โดย Slack แนะนำว่าองค์กรสามารถสนับสนุน Underground users ได้โดยการสร้างนโยบายที่ส่งเสริมการใช้ AI และให้ความรู้ในที่ทำงานว่า “AI มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ไม่ใช่มาแทนที่มนุษย์”

การจัดการกับความกังวลเหล่านี้ บริษัทสามารถสร้างบรรยากาศที่แสดงให้เห็นประโยชน์ของ AI และบรรเทาความกลัวของผู้ที่ลังเลที่จะนำมาใช้

อีกฝั่งหนึ่งของแรงงาน ที่เรียกว่า The Rebels (ต่อต้าน) ส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้หญิงและพนักงานที่มีอายุสูง คนกลุ่มนี้มักมอง AI ด้วยแง่ลบ กลัวการแทนที่งานด้วยเครื่องจักร

ความลังเลนี้มีรากฐานมาจากการขาดความมั่นใจในตำแหน่ง และมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับ AI ในฐานะภัยคุกคามต่องาน

สำคัญมากที่นายจ้างต้องเปิดใจยอมรับความกลัวเหล่านี้และสร้างความไว้วางใจให้กับพวกเขา สามารถทำได้โดยการมีส่วนร่วมในการสนทนาแบบเปิดใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ของ AI ความสามารถของมัน และการให้ความมั่นใจเกี่ยวกับความมั่นคงในตำแหน่งงาน

การฝึกอบรมเกี่ยวกับ AI อาจช่วยลดช่องว่างในการนำ AI มาใช้สำหรับคนหลายๆกลุ่ม ทำให้เทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและน่ากลัวน้อยลง

เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่มอง AI ในแง่บวก บริษัทต้องดำเนินการเชิงรุก

ประการแรก การกำหนดแนวทาง AI ที่ชัดเจน แจ้งให้พนักงานทราบถึงวิธีการใช้งานและประโยชน์ หากไม่มีคำแนะนำ พนักงานอาจรู้สึกไม่แน่ใจหรือลังเลที่จะทดลองใช้ AI

ประการที่สอง บริษัทควรส่งเสริมนวัตกรรม AI อย่างเปิดเผย แสดงให้เห็นการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงภายในองค์กร

สุดท้าย การสร้างวัฒนธรรมแห่งการทดลอง ช่วยให้พนักงานสามารถสำรวจศักยภาพของ AI ได้อย่างสบายใจ การแนะนำงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น การใช้ AI ในการร่างอีเมลหรือสรุปรายงาน สามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่ขจัดความซับซ้อนที่รับรู้และเน้นย้ำบทบาทในการใช้ AI เพื่อสนับสนุน

การถกเกียงเกี่ยวกับ AI ในที่ทำงานยังคงดำเนินต่อไป และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น ประเด็นนี้ก็จะพัฒนาตามไปด้วย การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน AI จะทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์พลิกความวิตกกังวลที่แฝงอยู่ให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ใช้ประโยชน์จาก AI ได้จะมีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทนผู้ที่ไม่ได้ใช้ AI

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *